ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี= Factors Affecting Leadership of School Administrators under the Jurisdiction of the Office of Ubon Ratchathani Provincial Primary Education/ สุนทรีภรณ์ แก้วกนก

  • Barcode: 05811
  • ประเภท: งานวิจัย
  • ผู้แต่ง: สุนทรีภรณ์ แก้วกนก
  • สำนักพิมพ์: อุบลราชธานี : ราชภัฎ, 2546
  • จำนวนหน้า: 103 หน้า: ตาราง
  • พิมพ์ครั้งที่: 1
  • หัวเรื่อง: ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารโรงเรียน
  • หมวดหมู่หนังสือ: การศึกษา
  • ISBN: 9749592417
  • NSBN: -
  • เลขเรียก: ว371.201 ส814ป
  • สถานะหนังสือ: มีพร้อมบริการ

Views: 99

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาลักษณะภาวะผู้นำ การสนับสนุนทางสังคม สุขภาพจิต และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม สุขภาพจิต แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี และ 3. เพื่อศึกษาอิทธิพลร่วมของการสนับสนุนทางสังคม สุขภาพจิต แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประถามศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2544 จำนวน 287 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejice and Morgan และทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยภาวะผู้นำ การสนับสนุนทางสังคม สุขภาพจิต และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94, .95, .98 และ .93 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคุณ ผลการวิจัยพบว่า . ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีมีภาวะผู้นำในระดับมาก ได้รับการสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลาง มีสุขภาพจิตในระดับปานกลาง และมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในระดับมาก . การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะผู้นำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สุขภาพจิตและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะผู้นำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 . การสนับสนุนทางสังคม สุขภาพจิต และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สามารถร่วมกันพยากรณ์ภาวะผู้นำได้ร้อยละ 75.2 โดยที่แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สามารถอธิบายภาวะผู้นำได้มากที่สุด รองลงมาคือ การสนับสนุนทางสังคมและสุขภาพจิต ตามลำดับ

สำหรับหนังสือเล่มนี้ยังไม่มี Review

กรุณา Login เพื่อเขียน Review

MARC 21 Information

Tag IDข้อมูล
Tag 020^a9749592417
Tag 082^aว371.201^bส814ป
Tag 100^aสุนทรีภรณ์ แก้วกนก
Tag 245^aปัจจัยที่มีผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี=^bFactors Affecting Leadership of School Administrators under the Jurisdiction of the Office of Ubon Ratchathani Provincial Primary Education/^cสุนทรีภรณ์ แก้วกนก
Tag 260^aอุบลราชธานี :^bราชภัฎ,^c2546
Tag 300^a103 หน้า:^bตาราง
Tag 850^aห้องสมุด สคบศ.
Tag 005^a26 กุมภาพันธ์ 2568
Tag 250^a1
Tag 500^aการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาลักษณะภาวะผู้นำ การสนับสนุนทางสังคม สุขภาพจิต และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม สุขภาพจิต แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี และ 3. เพื่อศึกษาอิทธิพลร่วมของการสนับสนุนทางสังคม สุขภาพจิต แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี
^aกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประถามศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2544 จำนวน 287 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejice and Morgan และทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยภาวะผู้นำ การสนับสนุนทางสังคม สุขภาพจิต และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94, .95, .98 และ .93 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคุณ
^aผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีมีภาวะผู้นำในระดับมาก ได้รับการสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลาง มีสุขภาพจิตในระดับปานกลาง และมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในระดับมาก
2. การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะผู้นำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สุขภาพจิตและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะผู้นำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. การสนับสนุนทางสังคม สุขภาพจิต และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สามารถร่วมกันพยากรณ์ภาวะผู้นำได้ร้อยละ 75.2 โดยที่แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สามารถอธิบายภาวะผู้นำได้มากที่สุด รองลงมาคือ การสนับสนุนทางสังคมและสุขภาพจิต ตามลำดับ
Tag 650^aภาวะผู้นำ,
^aผู้บริหารโรงเรียน

หนังสืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง